หลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ


การคำนวณอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามแนวทางใหม่

  • ธนาคารจะเริ่มคำนวณอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามแนวทางใหม่ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยครอบคลุมสินเชื่อดังนี้

    • สินเชื่อส่วนบุคคล
    • สินเชื่อที่อยู่อาศัย
    • สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
  • กรณีผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามแนวทางใหม่ ดังนี้

    • อัตราดอกเบี้ยผิดนัดคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามสัญญาบวกเพิ่ม 3% บนเงินต้นของค่างวดที่เกินกำหนดชำระ
    • ในส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัย การปรับปรุงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ มีผลรวมถึงวงเงินสินเชื่อเอนกประสงค์ที่เป็นยอดใช้เกินวงเงินเบิกเกินบัญชี (Excess OD)
  • ในส่วนสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ การปรับปรุงวิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ มีผลกับวงเงินสินเชื่อที่เป็น cash loan ทุกประเภท ได้แก่ วงเงินเบิกเกินบัญชี (OD) ในส่วนยอดใช้เกินวงเงิน (Excess OD), ตั๋วสัญญาใช้เงิน (PN), สินเชื่อเพื่อการค้า (Trade Finance), สินเชื่อเงินกู้ผ่อนชำระทั้งระยะสั้นและระยะยาว (Term Loan) รวมถึง

    • ยอดเบิกเงินเกินบัญชี สำหรับบัญชีกระแสรายวัน กรณีลูกค้าไม่มีวงเงินเบิกเกินบัญชี (OD)
    • ยอดใช้วงเงิน Intraday Limit ที่ลูกค้าไม่สามารถชำระคืนภายในวัน ซึ่งธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเช่นเดียวกับยอดเบิกเงินเกินบัญชีกระแสรายวัน (กรณีไม่มีวงเงิน OD) หรือวงเงินเบิกเกินบัญชี (OD)
    • วงเงินค้ำประกันที่ถูกเคลมโดยผู้รับผลประโยชน์ และธนาคารได้ดำเนินการชำระหนี้ให้ผู้รับผลประโยชน์ ตามการเคลมแล้วแต่ลูกค้ายังไม่ชำระคืนธนาคารภายในวันที่ครบกำหนด


ลำดับการตัดชำระหนี้แบบแนวนอน

  • ธนาคารจะเริ่มการตัดชำระหนี้แบบแนวนอน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยธนาคารจะนำเงินที่ได้รับชำระ ตัดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของยอดค้างชำระที่นานที่สุดก่อน แล้วค่อยตัดยอดที่ค้างชำระลำดับถัดมา


ทั้งนี้ท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของการคำนวณอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามแนวทางใหม่และลำดับการตัดชำระหนี้แบบแนวนอนได้ที่ https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n7463.aspx

ติดต่อเรา: บริการช่วยเหลือลูกค้ายูโอบี และรายละเอียดการติดต่อ

ไอคอนตำแหน่งของยูโอบี

ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี

ติดต่อเรา

ที่ตั้งสาขาและตู้เอทีเอ็มยูโอบี