คำถามที่พบบ่อย

ไม่ได้รับรหัสประจำตัว/รหัสผ่าน

ยังไม่ได้รับรหัสประจำตัว (User ID) ต้องทำอย่างไร

  1. กรุณาตรวจสอบในกล่องข้อความขยะ (Junk Folder) ในอีเมลสำหรับการติดต่อที่คุณให้ไว้กับธนาคาร
  2. หากไม่พบอีเมลดังกล่าว กรุณาติดต่อผ่าน ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 หรือติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยสามารถ ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี
  3. หากต้องการเปลี่ยนแปลงอีเมลในการรับรหัสประจำตัว (User ID) กรุณาติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยสามารถ ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี

ยังไม่ได้รับรหัสผ่าน (Password) ต้องทำอย่างไร

  1. ธนาคารได้ดำเนินการจัดส่งซองรหัสผ่าน (Password) ไปยังช่องทางที่คุณได้ระบุไว้ในใบสมัคร ดังนี้
    • หากคุณเลือกรับรหัสผ่าน (Password) ทางไปรษณีย์ กรุณาตรวจสอบตู้ไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ท่านให้ไว้กับธนาคาร หรือสอบถามที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่
    • หากคุณเลือกรับรหัสผ่าน (Password) ทางสาขาธนาคารยูโอบี กรุณาติดต่อขอรับได้ ณ สาขาที่คุณระบุไว้
  2. หากไม่พบซองรหัสผ่านดังกล่าว กรุณาติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี

เข้าใช้บริการครั้งแรก

เปลี่ยนรหัสประจำตัวและรหัสผ่านครั้งแรกอย่างไร

ในการเข้าใช้บริการครั้งแรก ระบบจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสประจำตัวและรหัสผ่านโดยอัตโนมัติ กรุณาทำตามขั้นตอน ดังนี้
  1. ระบุรหัสประจำตัวและรหัสผ่านตามที่ได้รับจากธนาคาร
    • รหัสประจำตัว (User ID) ที่คุณได้รับทางอีเมลจาก pib@uobthailand.com
    • รหัสผ่าน (Password) ที่คุณได้รับทางไปรษณีย์หรือสาขาตามช่องทางที่คุณระบุไว้ในใบสมัคร ในรูปแบบซองกระดาษคาร์บอน
      โปรดระวัง! อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก ตัวใหญ่ หมายเลข "0" (ศูนย์) กับตัวอักษร "O" (ตัวอักษรโอภาษาอังกฤษ) มีความหมายแตกต่างกัน และมีผลกับการกรอกรหัสผ่าน
  2. เปลี่ยนแปลงรหัสประจำตัว และรหัสผ่านใหม่
    โปรดทราบ
    • รหัสประจำตัวใหม่ (User ID) ต้องประกอบด้วย ตัวเลข และตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวอักษรล้วน จำนวน 8-16 ตัวอักษร โดยรหัสประจำตัวที่คุณเปลี่ยนนี้ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก
    • รหัสผ่านใหม่ (Password) ต้องประกอบด้วย ตัวเลข และตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวเลขล้วน จำนวน 8-24 ตัวอักษร โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา
    • ห้ามเว้นวรรค ห้ามมีอักขระพิเศษ และระวังการใช้ตัวอักษรเล็ก ตัวอักษรใหญ่
  3. เลือก "ส่งข้อมูล" เพื่อดำเนินการ
  4. ระบบจะบังคับให้คุณเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง กรุณากรอกรหัสประจำตัว/รหัสผ่านใหม่ที่คุณได้กำหนดไว้ เพื่อเข้าใช้บริการ

 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริการ PIB

UOB Personal Internet Banking (PIB) คืออะไร สามารถทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง

UOB Personal Internet Banking (PIB) คือ บริการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ รายการโอนเงิน ทั้งภายในธนาคารยูโอบีและต่างธนาคาร รายการชำระค่าสินค้าและบริการ รายการธนาณัติออนไลน์ (บริการโอนเงินไปยังที่ทำการไปรษณีย์ที่ต้องการ เพียงระบุข้อมูลผู้รับปลายทาง เมื่อทำรายการเรียบร้อย คุณสามารถแจ้งผู้รับติดต่อรับเงินได้ทันที) รายการสอบถามยอดเงินในบัญชียูโอบีของตนเอง ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้บริการได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

UOB CyberBanking กับ UOB Personal Internet Banking แตกต่างกันอย่างไร

UOB Personal Internet Banking เป็นระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนระบบ UOB CyberBanking เดิม ซึ่งมีการปรับปรุงรูปแบบการใช้งานให้เหมาะสม และมีความปลอดภัยในการทำธุรกรรมมากยิ่งขึ้น

ระบบที่รองรับการใช้บริการ PIB มีอะไรบ้าง (Hardware และ Software)

  • คอมพิวเตอร์ PC
    • ระบบปฏิบัติการ: Windows XP, Windows 7, Windows 8
    • Web Browser*: Internet Explorer 6.0/7.0/8.0/9.0/10.0, Fire fox 19, Google Chrome 25
  • คอมพิวเตอร์ Mac
    • ระบบปฏิบัติการ: Mac (Lion), Mac (Mountain Lion)
    • Web Browser*: Safari 5.1, Safari 6, Mozilla Firefox 19, Google Chrome 25
  • iPhone & iPad*
    • iPhone 4 Safari browser บน iOS 4.1 ขึ้นไป
    • iPad Safari browser บน iOS 6.0 ขึ้นไป
      *เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์บนมือถือเท่านั้น ไม่ใช่การใช้งาน Application บนมือถือ

UOB Personal Internet Banking ใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่

คุณสามารถใช้บริการ PIB ได้จากทั่วทุกมุมโลก โดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และรับ OTP จาก SecurePlus token โดยคุณไม่จำเป็นต้องเปิดโรมมิ่งแต่อย่างใด

UOB Personal Internet Banking มีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างไร

คุณมั่นใจและปลอดภัยกับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี ที่ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล ที่ประกอบด้วย การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ด้วย Secured Socket Layer (SSL) 128 bits การวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และไฟล์วอร์ (Firewall) และอีกขั้นด้วยระบบรักษาความปลอดภัย 2 ด้วยรหัสแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP)

ล้างข้อมูลหลังจากการทำรายการเสร็จได้อย่างไร

คุณควรล้างความจำของ Internet Browser เพื่อความมั่นใจว่าการทำรายการธุรกรรมจะไม่ถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
  • Internet Explorer
    • เลือก "Tools" > "Internet Option" > "General"
    • เลือก "Browsing History" และคลิก "Delete"
    • เลือก "Temporary Internet Files" และคลิก "Delete Files"
    • คลิก "OK" และคลิก "OK" อีกครั้งเพื่อปิดหน้าต่าง
  • Mozilla Firefox
    • เลือก "Tools" > "Clear Private Data"
    • คลิก "Cache" และเลือก "Clear Private Data Now"
  • Safari
    • เปิดเบราว์เซอร์ แล้วคลิก "Empty Cache"
    • เลือก "Empty" ในหน้าต่างๆ นั้นเพื่อลบ Cache
  • Google Chrome
    • เลือก "Tools" > "Clear browsing Data"
    • คลิก "Clear browsing data"

สมัคร/ยกเลิก บริการ PIB

ต้องการสมัคร PIB ต้องทำอย่างไร

3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการสมัครใช้บริการ เพียงคุณมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีสินเชื่อ หรือบัญชีบัตรเครดิต ของธนาคารยูโอบี อย่างน้อย 1 บัญชี
  1. สมัครบริการผ่านสาขาธนาคารทั่วประเทศ หรือดาวน์โหลดใบสมัคร UOB Personal Internet Banking
  2. กรอกข้อมูลในใบสมัครและลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (SMS) หรืออุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) เพื่อรับรหัสแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP) พร้อมลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน
  3. ส่งใบสมัครพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (สำหรับชาวต่างชาติ) 1 ฉบับ ผ่านสาขาธนาคารที่คุณสะดวก
หมายเหตุ : หลังจากที่คุณได้รับรหัสประจำตัว (User ID) ผ่านทางอีเมล์ที่ระบุไว้ในใบสมัคร คุณจะได้รับข้อความ (SMS) ยืนยันการลงทะเบียนบริการ UOB Personal Internet Banking จากนั้น ธนาคารจะจัดส่งรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้บริการไปยังสถานที่ที่คุณได้ระบุไว้ในใบสมัครภายใน 7 วันทำการ (ภายในประเทศเท่านั้น)

ต้องการยกเลิก PIB ต้องทำอย่างไร

กรุณาติดต่อสาขาของธนาคารทั่วประเทศ เพื่อกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกการใช้งานระบบ PIB

รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP)

รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP) คืออะไร

OTP คือ รหัสผ่านที่ใช้เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมผ่านระบบ PIB ซึ่ง OTP จะใช้ ทำรายการธุรกรรมได้เพียงครั้งต่อครั้ง ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น

รับ OTP จากช่องทางใดบ้าง

ทางโทรศัพท์มือถือ (SMS-OTP)
ธนาคารจะดำเนินการลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์มือถือตามที่ระบุไว้ในการสมัคร PIB (เฉพาะหมายเลขที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น) และในขั้นตอนของการรับ SMS-OTP ทางธนาคารจะทำการส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้

ทางอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token-OTP)
กรณีลูกค้าเดินทางไปต่างประเทศ หรือไม่สะดวกรับ SMS-OTP ผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ สามารถขอใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ซึ่งสามารถแสดง OTP ได้ทันทีที่กดปุ่ม

ในกรณีใดที่ต้องใช้ OTP เพื่อทำรายการ

  1. เมื่อมีการทำรายการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลลูกค้า หรือเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางระบบ PIB
  2. เมื่อลูกค้าต้องการเข้าใช้บริการแบบเต็มรูปแบบเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ อาทิ การเพิ่มบัญชีปลายทางเพื่อรับโอนเงิน การเพิ่มบัญชีผู้รับโอนธนาณัติออนไลน์ การเพิ่มบัญชีปลายทางเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ

หากต้องการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับ SMS-OTP ต้องทำอย่างไร

คุณสามารถติดต่อสาขาธนาคารยูโอบีที่สะดวก เพื่อดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับ SMS-OTP

มีค่าใช้จ่ายสำหรับการรับ OTP หรือไม่

ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สำหรับการรับ OTP ที่ผ่านทั้ง SMS และ SecurePlus token

เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token-OTP)

อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) คืออะไร

SecurePlus token คือ อุปกรณ์เสริมที่จะช่วยยกระดับความปลอดภัย โดยการสร้างรหัสผ่านสำหรับใช้ครั้งเดียว (OTP) ที่จะต้องใช้ควบคู่กับ USER ID และ Password ในการเข้าระบบ เพื่อทำธุรกรรมผ่าน PIB

หากต้องการขอใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ต้องทำอย่างไร และมีค่าธรรมเนียมหรือไม่

กรุณาติดต่อสาขาที่คุณสะดวก เพื่อกรอกแบบฟอร์ม โดยมีค่าธรรมเนียมในการขอรับ SecurePlus token จำนวน 300 บาท/เครื่อง

อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ใช้อย่างไร

เพียงกดปุ่มสีแดงที่มุมขวาล่างของ SecurePlus token ค้างไว้ รหัสตัวเลข 6 ตัว จะแสดงบนหน้าจอ ลูกค้าสามารถนำรหัสนี้ไปกรอกในหน้าจอ PIB เพื่อทำธุรกรรมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ PIB ได้

หากอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) สูญหายต้องทำอย่างไร

กรุณาแจ้งศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 ทันทีที่ทราบ หากต้องการขอ SecurePlus token เครื่องใหม่เพื่อทดแทนเครื่องเดิมที่สูญหาย กรุณาติดต่อสาขาของธนาคารที่สะดวก เพื่อกรอกแบบฟอร์มขอรับ SecurePlus token เครื่องใหม่ โดยมีค่าธรรมเนียมในการขอรับ SecurePlus token จำนวน 300 บาท/เครื่อง

ลืม User ID และ/หรือ Password ต้องทำอย่างไร

ลืม User ID ต้องทำอย่างไร

กรุณาติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 ธนาคารจะดำเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบและยืนยันบุคคล และจะแจ้ง User ID ให้ทราบผ่านอีเมล์ที่คุณได้ให้ไว้กับธนาคารภายในวันทำการถัดไป หรือติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยสามารถ ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี

หากลืม Password หรือ Password ถูกระบบล็อค ต้องทำอย่างไร

กรณีลืม Password หรือ Password ถูกระบบล็อค เนื่องจากกรอก Password ผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนด กรุณาติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 ธนาคารจะดำเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบและยืนยันบุคคล และแจ้ง Password ให้ทราบภายใน 7 วันทำการ หรือติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยสามารถ ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี

ข้อมูลบริการทางบัญชีบนระบบ PIB

บัญชีประเภทใดที่สามารถใช้ในระบบ PIB ได้

บัญชียูโอบีทุกประเภท ยกเว้น
  • บัญชี "ร่วม/และ" (Joint/and)
  • บัญชี "ร่วม/หรือ" (Joint-Or) ที่มีเงื่อนไขการสั่งจ่ายพิเศษ (Signing Condition)
  • บัญชีเงินกู้ที่มีสถานะค้างชำระเกิน 90 วัน

สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน PIB ได้หรือไม่

ลูกค้าสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน PIB ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มบัญชีผู้รับเงินได้กี่บัญชี

ลูกค้าสามารถเพิ่มเพิ่มบัญชีผู้รับเงินในระบบ PIB รวมกันได้สูงสุด 30 บัญชี

ดูข้อมูลประวัติการทำรายการย้อนหลัง อย่างไร

ลูกค้าสามารถเรียกดูข้อมูลการทำธุรกรรมย้อนหลังได้สูงสุด 90 วัน โดยเลือกเมนูประวัติการทำรายการ

บัญชีร่วมประเภท "หรือ" และบัญชีร่วมประเภท "เพื่อ,โดย" จะแสดงในระบบ PIB หรือไม่

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มีบัญชีร่วมประเภท "หรือ" และบัญชีร่วมประเภท "เพื่อ,โดย" ธนาคารได้แสดงข้อมูลบัญชีประเภทดังกล่าวของคุณบนระบบ PIB โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงบัญชีดังกล่าวได้ด้วยตนเองผ่านระบบ PIB ตลอด 24 ชั่วโมง

หากไม่ต้องการให้บัญชีร่วมประเภท "หรือ" และบัญชีร่วมประเภท "เพื่อ,โดย" แสดงในระบบ PIB ต้องทำอย่างไร

คุณสามารถทำรายการเพิ่ม/ลดบัญชีดังกล่าวหรือบัญชีอื่นๆ ที่คุณไม่ต้องการให้แสดงบนหน้าจอของระบบ PIB ได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลเฉพาะบนหน้าจอการทำรายการของคุณเท่านั้น ไม่มีผลต่อหน้าจอของผู้ถือบัญชีร่วม

การเพิ่ม/ลดบัญชีที่ต้องการให้แสดงหรือไม่แสดงในระบบ PIB จะมีผลทันทีหลังจากทำรายการเลยหรือไม่

มีผลทันทีที่ลูกค้าทำรายการสำเร็จ

การเปลี่ยนแปลงวงเงินในการทำธุรกรรมผ่านบริการ PIB

การเปลี่ยนแปลงวงเงิน คืออะไร

เป็นการปรับเพิ่มหรือลดวงเงิน ในการทำธุรกรรมต่อวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวงเงินดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่ที่คุณทำรายการสำเร็จ ไปจนกว่าคุณจะทำการเปลี่ยนแปลงวงเงินในครั้งต่อไป

สามารถเพิ่มวงเงินในการทำธุรกรรมสูงกว่าวงเงินปกติที่ธนาคารกำหนดได้หรือไม่

สามารถทำได้ โดยเลือกวงเงินที่ต้องการเพิ่มได้ตามจำนวนที่ธนาคารกำหนดแต่ละรายการ และยืนยันการทำรายการโดยใส่รหัส OTP ที่ได้จาก SMS หรือ SecurePlus token

ลดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ต้องทำอย่างไร

ลูกค้าเลือกลดวงเงินที่ต้องการได้ตามจำนวนที่ธนาคารกำหนด โดยไม่ต้องใส่ OTP ที่เมนูการเปลี่ยนวงเงิน

บริการโอนเงิน PIB

จำนวนเงินโอนเงินต่างธนาคาร สูงสุดเท่าไหร่

สามารถโอนเงินต่างธนาคารได้ไม่เกิน 50,000 บาท/รายการ หรือสูงสุด 100,000 บาท/วัน และสามารถปรับเพิ่มวงเงินการโอนได้สูงสุด 500,000 บาท/วัน โดยลูกค้าต้องใช้รหัส OTP ที่ได้จาก SMS หรือ SecurePlus token

สามารถโอนเงินไปยังบัญชีปลายทางได้สูงสุดกี่บัญชีในครั้งเดียว

คุณสามารถโอนเงินไปยังบัญชีปลายทางได้สูงสุด 5 บัญชี โดยการกรอกรหัส OTP เพียงครั้งเดียว

ตั้งโอนเงินแบบซ้ำอัตโนมัติ คืออะไร

การตั้งรายการโอนเงินเป็นประจำ โดยลูกค้าสามารถเลือกวันที่เริ่มทำรายการ ความถี่ในการโอน (ทุกเดือน, ทุกๆ 3 เดือน, ทุกๆ 6 เดือน หรือทุกปี) และวันสิ้นสุดในการทำรายการได้ โดยระบบจะทำการโอนเงินตามรายการที่ตั้งไว้ในวันที่ลูกค้าระบุโดยอัตโนมัติ

โอนเงินแบบกำหนดเวลาล่วงหน้า คืออะไร

การตั้งวันที่ที่ต้องการทำรายการโอนเงินล่วงหน้า โดยระบบจะทำการโอนเงินตามรายการที่ตั้งไว้ในวันที่ลูกค้าระบุโดยอัตโนมัติ ซึ่งลูกค้าสามารถตั้งรายการโอนเงินล่วงหน้าได้ 1 รายการ/ครั้ง

บริการการโอนเงินระหว่างประเทศต้องทำอย่างไร และใช้เวลาในการดำเนินการกี่วัน

คุณสามารถเลือกเมนู โอนเงินระหว่างประเทศ เพื่อทำการโอนเงิน ในกรณีโอนเงินไปต่างธนาคารในต่างประเทศ เงินจะเข้าบัญชีของผู้รับเงินปลายทางไม่เกิน 2 วันทำการ หลังจากวันที่คุณได้ทำการโอนสำเร็จ

บริการชำระค่าสินค้าและบริการ

สามารถชำระภาษีกรมสรรพากรผ่าน PIB ได้หรือไม่ อย่างไร

ลูกค้าสามารถชำระภาษี โดยเลือกเมนู "บริการชำระค่าสินค้าและบริการ" ซึ่งคุณสามารถทำรายการโดยขั้นตอนดังนี้
  • เลือก ประเภทผู้รับชำระเงิน เป็น "องค์กรของรัฐ"
  • เลือก ผู้รับชำระเงิน เป็น "REVENUE DEPARTMENT"
  • กรอกข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีตามใบแจ้งชำระภาษี ดังนี้ TAX ID./รหัสลูกค้า, REFERENCE NO./CONTROL CODE และชื่อลูกค้า

หากต้องการใบเสร็จการชำระเงิน ต้องทำอย่างไร

ลูกค้าสามารถสั่งพิมพ์หน้าจอยืนยันการทำรายการสำเร็จได้ทันที หรือ เลือกเมนู "ข้อมูลบัญชี" และเลือก "สถานะการทำรายการ" โดยจะสามารถเลือกดูสถานะการทำรายการ ย้อนหลังได้สูงสุด 90 วัน

ขอความช่วยเหลือการใช้บริการ PIB

ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 กด 04 หรืออีเมล์ pib@uob.co.th