นิทรรศการการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562

ร่วมชมนิทรรศการเสมือนจริง คลิกที่นี่
นิทรรศการการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562

ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
UOB Art Gallery เลขที่ 80 Raffles Place
อาคาร UOB Plaza 1 ชั้น G ประเทศสิงคโปร์

ธนาคารยูโอบี ภูมิใจนำเสนอผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562 ที่ล้วนได้รับอิทธิพลจากมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม และสภาพแวดล้อม ทั้งยังโดดเด่นด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวที่กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม

ด้วยตระหนักถึงความสําคัญของศิลปะ อันเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสังคม เป็นสื่อที่เชื่อมโยงผู้คนและชุมชนเข้าด้วยกัน รวมถึงเชิดชูวัฒนธรรมและเสริมสร้างชีวิต ธนาคารยูโอบีจึงจัดการประกวดจิตรกรรมยูโอบีอย่างต่อเนื่องมากว่า 38 ปี เพื่อส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2019 UOB Southeast Asian Painting of the Year รางวัลชนะเลิศ การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ระดับภูมิภาค ประจำปี 2562

anagard

Anagard
Welcome Perdamaian, Goodbye Kedengkian (Welcome Peace, Goodbye Hostility)

ความหลากหลายทางวัฒนธรรมไม่ใช่แนวคิดใหม่หรือเรื่องใหม่ แต่คือความเป็นจริงที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของเรา สำหรับชาวอินโดนีเซีย แนวคิดเรื่องความหลากหลายได้ถูกกล่าวถึงภายใต้สโลแกน“เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย (Bhinneka Tunggal Ika)” ที่พบในหนังสือโบราณของชาวชวาโดย Mpu Tantular ในยุคอาณาจักรมัชปาหิต ศตวรรษที่ 14

ผลงานนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากสถานปฏิบัติธรรมบนเนินเขาเรมาเมืองมาเกอลัง จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสงบและความสามัคคีของผู้คนหลากหลายศรัทธา ศิลปินสร้างสรรค์งานด้วยเทคนิคการพ่นสี เช่นเดียวกับสีสเปรย์ที่พบเห็นได้ทั่วไปตามกำแพงในเมืองหลวง เพื่อสะท้อนความหมายของความรักและสันติสุขที่อยู่เหนือความแตกต่างใดๆ ท่ามกลางความหลากหลายของผู้คน

Anagard จบการศึกษาจากสถาบันศิลปะแห่งชาติอินโดนีเซีย เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เขามีนิทรรศการกลุ่มมากมายทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย เบลเยียม และออสเตรเลีย และเป็นที่ยอมรับจากหลากหลายเวทีการประกวด อาทิ Finalist ของรางวัล Indonesian Art Award 2013, Finalist ของรางวัล Jakarta Art Award International Painting Competition 2012 และ Finalist ของ Neo Nation, Yogyakarta Biennale ครั้งที่ 9 ปี 2550 ประเทศอินโดนีเซีย

2019 UOB Painting of the Year ประเทศสิงคโปร์

war-and-peace

Wong Tze Chau
War and Peace

War and Peace เป็นผลงานที่สำรวจความงามที่แท้จริงของการประดิษฐ์ตัวอักษรและศักยภาพของภาษาในศิลปะร่วมสมัย

ผลงาน War and Peace เป็นการอุปมาอุปไมยถึง "เอกภาพของการดำรงอยู่" โดยนำเสนอรูปซ้ำจนเกือบจะเป็นทวิภาคของความมืดและความสว่าง อันเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นมนุษย์ ในขณะที่คำภาษาอาหรับและภาษาฮิบรูกลับโดดเด่นขึ้นมา เพื่อสื่อถึงความเหมือนที่มีร่วมกัน เช่น การออกเสียงที่คล้ายคลึงกันของคำว่า ‘สันติภาพ’ ในภาษาอาหรับ (salam) และในภาษาฮิบรู (shalom)

คุณ Wong ได้รับแรงบันดาลใจจากนักเขียนและนักปรัชญาชาวเยอรมัน นามว่า Friedrich Schiller ศิลปินเชื่อมั่นในพลังการเปลี่ยนแปลงของศิลปะ นับตั้งแต่ปี 2554 เขามีนิทรรศการกลุ่มทั้งในและต่างประเทศ และนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในปี 2561 เขาหวังที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ทั้งดึงดูดสายตาและกระตุ้นความคิดของผู้ชม

2019 UOB Painting of the Year ประเทศมาเลเซีย

tug-and-war

Cheng Yen Pheng
Tug of War: My Homeland

ผลงาน Tug of War: My Homeland ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการดิ้นรนต่อสู้ของคนในประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นบ้านเกิดของศิลปิน ความพยายามที่จะสร้างสมดุลระหว่างเจตนากับการตัดสินใจ และผลกระทบของสิ่งนี้ต่อความสามัคคีและความสงบสุขของคนในประเทศ ความเหน็ดเหนื่อยและการดิ้นรนถูกสื่อผ่านภาพการชักเย่อ โดยศิลปินใช้รากของต้นยาสูบ lalang มาสร้างภาพแผนที่ประเทศมาเลเซีย เพื่อสื่อว่าความไม่ลงรอยและการโต้เถียงของคนแต่ละภาคส่วนคือต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งในประเทศ และใช้เนื้อจากผลของต้นหม่อนมาทำกระดาษแทนการใช้ผืนผ้าใบ เพื่อสร้างมิติให้กับผลงาน

คุณ Cheng จบการศึกษาจากสถาบันศิลปะ Dasein พร้อมอนุปริญญาสาขาวิจิตรศิลป์ เมื่อปี 2547 เธอได้รับการคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้ายของการประกวด Bakat Muda Sezaman (Young Art Contemporary) ที่หอศิลป์แห่งชาติมาเลเซียในปี 2557 และมีนิทรรศการเดี่ยวและกลุ่มหลายครั้งทั้งในและต่างประเทศ

2019 UOB Painting of the Year ประเทศไทย

wastescape

ชัยชนะ ลือตระกูล
Wastescape

ผลงาน Wastescape สื่อให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นคำทำนายถึงวันที่วัตถุต่างๆ ที่มนุษย์ส่งไปยังวงโคจรของโลกกลายสภาพเป็น "ขยะอวกาศ" ปกคลุมน่านฟ้าจนทึบแน่น ตัดขาดโลกกับสิ่งอื่นในจักรวาล

เศษโลหะเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ยากต่อการกำจัด ผลงานนี้เป็นการอุปมาว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของโลกอย่างฟุ่มเฟือยและยังทิ้งให้ขยะถูกสะสมมาตั้งแต่ยุคแรกของอารยธรรม ศิลปินต้องการสร้างความตระหนักถึงปัญหามลพิษของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในหลายมิติ

คุณชัยชนะเคยได้รับรางวัล Most Promising Artist of the Year ประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น (ประเทศไทย) ในปี 2561 ก่อนที่จะได้รับรางวัลนี้ในปี 2562 ผลงานของเขาได้รับรางวัลมากมายในประเทศไทย อาทิ รางวัลศิลปินยอดเยี่ยม ครั้งที่ 9 จากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไทย และในปี 2561 เขาได้เข้าร่วมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในโครงการศิลปะ ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

2019 Most Promising Artist of the Year ประเทศสิงคโปร์

the-water-is-wide

Casey Tan Jie Wei
The Water is Wide

ผลงาน The Water is Wide ได้รับแรงบันดาลใจจากวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก เหยื่อของภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมถูกบังคับให้เดินทางอย่างยากลำบากเพื่อเอาชีวิตรอด ศิลปินเห็นถึงสิ่งที่ผู้อพยพทุกคนมีร่วมกันผ่านสีหน้าของพวกเขา นั่นคือความพยายามที่จะดิ้นรนอย่างสุดกำลังเพื่อความปลอดภัย การเติมเต็มชีวิต และความโหยหาถึงถิ่นอาศัย

ภาพถ่ายทอดมุมมองในวงจำกัด มีฉากหลังเป็นเนินเขาสลับซับซ้อนเหมือนกระจกสี และท้องฟ้าสดใสราวกับความหวังที่เต็มเปี่ยม แต่ก็ตัดด้วยความแออัดและยุ่งเหยิง ผู้ชมถูกบังคับให้เผชิญหน้ากับความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ แม้กระนั้นก็ยังแฝงการมองโลกในแง่ดี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าแม้แต่ในหลุมดำของความสิ้นหวัง ก็ยังมีความหวังซ่อนอยู่

คุณ Tan ได้รับอนุปริญญา สาขาวิจิตรศิลป์ จาก Nanyang Academy of Fine Arts ประเทศสิงคโปร์ในปี 2559 และยังได้รับทุนการศึกษาของ Ngee Ann Kongsi อีกด้วย ผลงานของเขามักนำประสบการณ์ที่คุ้นชินของผู้คนมานำเสนอในรูปแบบที่น่าตื่นเต้น

 

2019 Most Promising Artist of the Year ประเทศอินโดนีเซีย

human-copy-of-mimetic-desire

Muhammad Yakin
Human, Human, Human, Copy of Mimetic Desire

ผลงาน Human, Human, Human, Copy of Mimetic Desire

ใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงปรากฏการณ์ในปัจจุบัน ที่ผู้คนล้วนต้องการเลียนแบบไอดอลเพื่อให้ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคม ผลงานนี้ยังสะท้อนถึงเส้นทางของการค้นหาตัวเอง ก่อนที่เขาหรือเธอจะพบตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง

คุณ Yakin เคยจัดแสดงในนิทรรศการกลุ่มหลายครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนิทรรศการ “BEBAS” Sakato Art Community ที่เมืองยอกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

2019 Most Promising Artist of the Year ประเทศมาเลเซีย

bunga-moyang

Nurul Asikin Binti Roslan
Bunga Moyang (Flower of the Spirits)

Bunga Moyang (ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณ) เป็นผลงานที่นำใบเตยและใบปาล์มมาพับด้วยศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่น (origami) ซึ่งการใช้ใบไม้เหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของชาว Mah Meri ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของคาบสมุทรมาเลเซีย ที่มักนำมาประดับประดาในงานที่มีการรวมตัวของญาติพี่น้อง เช่น งานแต่งงาน งานศพ เพื่อเป็นการแสดงความนับถือต่อผู้อาวุโส ด้วยแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมของชาว Mah Meri และความสำคัญของใบไม้เหล่านี้ ศิลปินจึงต้องการเชิดชูวัฒนธรรมประเพณีของเหล่าชนพื้นเมืองของมาเลเซียผ่านผลงานของเขา

คุณ Nurul ใช้เทคนิคการพิมพ์หมึก Lino เพื่อประทับรูปทรงเรขาคณิตลงบนการพับกระดาษเพื่อเน้นความสมมาตรและความกลมกลืน ผลงานถูกล้อมรอบด้วยรูปทรงของแหวนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปปั้น 'Harimau Berantai' (เสือกับโซ่ตรวน) ของชนเผ่า Mah Meri ที่มีชื่อเสียง

คุณ Nurul กำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาทัศนศิลป์ ที่ Universiti Teknologi MARA รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย เธอเป็นกราฟิกดีไซเนอร์และอาจารย์สอนมัลติมีเดีย

2019 Most Promising Artist of the Year ประเทศไทย

faces

สมชาย สีดำอ่อน
ภาพลักษณ์ของชีวิตจากใบหน้า หมายเลข 2

ผลงาน ภาพลักษณ์ของชีวิตจากใบหน้า หมายเลข 2 ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของเครือญาติที่ดิ้นรนหาเลี้ยงชีพตามวิถีชีวิตชนบท ศิลปินปรับเทคนิคการทำหนังตะลุงแบบโบราณมาประยุกต์และเพิ่มการใช้สี ทำให้เกิดความงามที่แตกต่างของโครงหน้าต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงความทุกข์ ความเหน็ดเหนื่อย ความลำบากในแต่ละอาชีพของคนในครอบครัว ประกอบกับวัสดุที่ใช้คือหนังวัวและเทคนิคการเย็บมือในจุดเชื่อมต่อของการแสดงอารมณ์ และความนูนทำให้เกิดมิติ สีที่ใช้เป็นสีผสมอาหาร และเส้นผมถูกแกะสลักด้วยเทคนิคของศิลปินเอง

คุณสมชายจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ประเทศไทย ในปี 2562 เขามีนิทรรศการกลุ่มในประเทศไทยหลายครั้ง ซึ่งเทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงานของเขาได้อิทธิพลมาจาก “หนังตะลุง” ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นในภาคใต้ของ