You are now reading:
ผ่อนบ้านไม่ไหวทำอย่างไรดี ปัญหานี้มีทางออก
แค่ฝากเงิน ฟรีประกัน 7 โรคมะเร็งในผู้หญิง รับความคุ้มครองทุกระยะ ตั้งแต่ตรวจพบ เจอ-จ่าย-จบ สูงสุด 2 ล้านบาท
รายละเอียดลงทุนในกองทุน United CIO Income Fund และ United CIO Growth Fund บริหารกองทุนโดย Chief Investment Officer จาก UOB Private Bank
เพิ่มเติมคุณกำลังอยู่ที่ ลูกค้าบุคคลทั่วไป
You are now reading:
ผ่อนบ้านไม่ไหวทำอย่างไรดี ปัญหานี้มีทางออก
ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้หลาย ๆ ครอบครัวเริ่มประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน สำหรับผู้ที่ประเมินแล้วว่าตนเองมีแนวโน้มที่จะผ่อนบ้านต่อไปไม่ไหวและกลัวว่าบ้านจะถูกยึด บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ ให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาและผ่านพ้นสถานการณ์เหล่านี้ไปได้มาฝาก
ก่อนอื่นเราควรทราบก่อนว่า การค้างผ่อนชำระค่าบ้านเป็นระยะเวลานานเท่าไรที่จะทำให้เราถูกยึดบ้าน ในกรณีที่ผู้กู้สินเชื่อบ้านค้างผ่อนชำระค่าบ้านกับทางธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ธนาคารจะยังไม่ยึดบ้านในทันที แต่จะมีกรอบระยะเวลาที่ถูกกำหนดไว้สำหรับลูกหนี้ที่ค้างผ่อนชำระเป็นระยะเวลาที่ต่างกันดังนี้
ค้างชำระไม่เกิน 30 วัน
สถานะบัญชียังถือว่าเป็นปกติ แต่ธนาคารอาจเริ่มติดต่อลูกหนี้เพื่อแจ้งเตือนการชำระล่าช้า ระยะนี้ยังไม่มีผลต่อเครดิตบูโรหรือการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด
ค้างชำระเกิน 30 วัน
หากลูกหนี้ค้างชำระเกิน 30 วัน ธนาคารจะส่งหนังสือเตือนหรือโทรติดตามเพื่อให้ลูกหนี้ชำระยอดที่ค้างอยู่ ซึ่งบางธนาคารอาจคิดค่าติดตามทวงถามหนี้ด้วย ระยะนี้บางธนาคารอาจเริ่มคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระโดยบวกเพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยปกติ
ค้างชำระเกิน 90 วัน
สถานะบัญชีของลูกหนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นหนี้เสีย (NPL - Non-Performing Loan) ในช่วงนี้ดอกเบี้ยจะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และธนาคารจะเริ่มกระบวนการทางกฎหมาย เช่น การฟ้องร้อง และส่งข้อมูลไปยังเครดิตบูโรทำให้ลูกหนี้มีประวัติการเงินที่ไม่ดี
หากเริ่มมีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าการผ่อนบ้านกำลังจะกลายเป็นภาระทางการเงินที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้ ทำให้เรามีโอกาสที่จะผ่อนบ้านไม่ไหวในอนาคตอันใกล้ ให้ปฎิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
การเพิกเฉยต่อปัญหาเมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว หรือการหลีกเลี่ยงการติดต่อกับธนาคารเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลายและมีแนวโน้มที่แย่ลง เป็นการลดโอกาสในการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมร่วมกับธนาคาร รวมถึงอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านกระบวนการทางกฎหมายต่าง ๆ เช่น การฟ้องร้อง หรือการยึดบ้านตามมาโดยที่ไม่มีโอกาสได้เจรจาต่อรอง
การประเมินสถานการณ์ทางการเงินอย่างรอบด้านจะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาการผ่อนบ้านไม่ไหวได้ในภาพรวม และสามารถวางแผนการเงินเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้ ก่อนอื่นให้ตรวจสอบรายรับ รายจ่าย และยอดหนี้สินทั้งหมดของตนเองอย่างละเอียด ดังนี้
มีรายได้สุทธิเท่าไรในแต่ละเดือน
มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่สามารถตัดหรือลดลงได้
มียอดเงินค้างชำระกับธนาคารจำนวนเท่าไร และค้างชำระเป็นระยะเวลานานเท่าใด
เราควรรวบรวมและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านของตนเองไว้ล่วงหน้า เช่น อัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขการชำระ และระยะเวลาผ่อนชำระ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการเจรจากับธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธนาคารมักจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวได้เจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน การติดต่อธนาคารเพื่อขอเจรจาก่อนที่จะกลายเป็นหนี้เสียแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาอย่างจริงใจ
เมื่อได้ติดต่อและเริ่มกระบวนการเจรจากับธนาคารผู้ให้สินเชื่อแล้ว โดยปกติธนาคารจะนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้ ดังนี้
การปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring) เป็นกระบวนการที่ลูกหนี้และธนาคารผู้ให้สินเชื่อร่วมกันออกแบบแบบการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีทางเลือกที่หลากหลาย ได้แก่
ขอผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยชั่วคราว เพื่อลดภาระค่างวดรายเดือนให้อยู่ในระดับที่สามารถจ่ายไหว
ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ เพื่อลดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน
ขอลดอัตราดอกเบี้ย ในบางกรณีธนาคารอาจพิจารณาลดดอกเบี้ยให้เป็นกรณีพิเศษ
การรีไฟแนนซ์บ้าน คือ การยื่นขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารแห่งใหม่ โดยใช้บ้านเป็นหลักประกัน เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลงซึ่งจะช่วยลดภาระเงินกู้เดิมที่มีอยู่ ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยลง และสามารถผ่อนบ้านได้หมดเร็วยิ่งขึ้น แม้ว่าการรีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น ค่าประเมินทรัพย์สิน และค่าจดจำนองใหม่ แต่ก็สามารถช่วยลดภาระทางการเงินในระยะยาวได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามการพิจารณาอนุมัติของธนาคารแห่งใหม่จะขึ้นอยู่กับประวัติการชำระหนี้ที่ดีของลูกค้าด้วย
หากประเมินแล้วว่าปัญหาการผ่อนบ้านไม่ไหวที่กำลังเผชิญอยู่นั้นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยทางเลือกอื่น ๆ การขายบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการขายด้วยตนเองหรือผ่านตัวแทนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำเงินไปปิดหนี้ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยไม่ให้เกิดหนี้เสียหรือเสียประวัติทางการเงินได้
ทางเลือกการรีไฟแนนซ์บ้านที่ช่วยลดภาระดอกเบี้ย จ่ายค่างวดลดลง เพิ่มสภาพคล่อง กู้เพิ่มได้สำหรับไว้ใช้จ่ายตามต้องการโดยไม่จำกัดวัถตุประสงค์ในการกู้ ช่วยให้คุณบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้คล่องตัวยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์ อัตราดอกเบี้ย คุณสมบัติผู้สมัคร เอกสารประกอบการพิจารณา ข้อกำหนดและเงื่อนไขอื่น ๆ และสมัครออนไลน์ได้ที่ UOB Refinance
หมายเหตุ การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญาปัจจุบันอยู่ที่ 5.744% ถึง 6.951% ต่อปี*
* อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ณ ขณะนั้น ๆ สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย MRR ณ วันที่ 1 พ.ย. 2567 = 8.675% ต่อปี ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ รายละเอียดการคำนวณและข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ดูได้จากหัวข้ออัตราดอกเบี้ยที่เว็บไซต์ธนาคาร
ข้อมูลอ้างอิง