TMRW เผยมุมมอง Gen Y ไทยต่ออนาคต ผ่านภาพวาดศิลปะ

‘ให้พรุ่งนี้เป็นวันของเรา’ คือเป้าหมายของดิจิทัลเจเนอเรชัน

ภาพวาดของมิลเลนเนียลไทย ที่สะท้อนให้เห็นว่าพวกเขามองอนาคตเป็นอย่างไร

เอกลักษณ์ที่หลากหลาย แรงบันดาลใจและเป้าหมายในชีวิตของมิลเลนเนียลไทย ได้รับการถ่ายทอดผ่านภาพวาดในกิจกรรมเวิร์คช็อปรู้จักตัวตนผ่านศิลปะ ที่จัดโดยTMRW (ทูมอร์โรว์) บริการธนาคารผ่านช่องทางดิจิทัลบนมือถือที่สร้างสรรค์ขึ้นมาสำหรับคนยุคดิจิทัลในอาเซียน

TMRW ได้ชวน มิลเลนเนียลไทย 12 คนที่มีความหลากหลายทั้งด้าน สถานะ เพศ และอาชีพ มาร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปรู้จักตัวตนผ่านศิลปะ โดยได้คุณฟ้าใส วิเศษกุล หนึ่งในนักศิลปะบำบัดชั้นนำของประเทศมาเป็นวิทยากรนำเวิร์คช็อปเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถสื่อสารและเปิดเผยมุมมองความคิดผ่านงานศิลปะ

เพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมซึ่งมีพื้นฐานด้านศิลปะไม่เท่ากัน รู้สึกสบายใจและสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างอิสระ คุณฟ้าใสเริ่มกิจกรรมแรกในธีม “ดุจดาว” โดยให้ผู้เข้าร่วมจินตนาการว่า ถ้าตัวเองเป็นดาวอยู่บนท้องฟ้าจะเป็นดาวที่มีลักษณะแบบไหน จากนั้นนำดาวที่แทนตัวเองไปติดบนกระดาษดำที่แทนท้องฟ้า เป็นการเล่นสมมุติกับจินตนาการและขยายความอิสระในการทำงานศิลปะ ต่อด้วยกิจกรรม ‘กระจกสี่ช่อง’ ที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมสะท้อนตนเองจากภายในผ่านกระจก 4 ช่อง โดยช่องที่ 1 คือสิ่งที่ฉันเป็น ช่องที่ 2 คือสิ่งที่คนอื่นมองว่าฉันเป็น ช่องที่ 3 คือ สิ่งที่ฉันต้องการเป็น และช่องที่ 4 คือ สิ่งที่คนอื่นต้องการให้ฉันเป็น และถ่ายทอดกระจกทั้งสี่ช่องนี้ออกมาเป็นภาพวาด

เมื่อเข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับคนรอบข้างแล้ว ต่อมาผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปได้สร้างสรรค์ภาพวาดอนาคตของพวกเขา โดยนักบำบัดศิลปะให้ทุกคนสะท้อนตัวตน ความรู้สึกและแรงบันดาลใจใน 3 ธีมหลัก อาชีพในฝัน เป้าหมายและการเดินทางของชีวิต

ผลงานภาพวาดที่ได้สร้างสรรค์ออกมาแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าเพศ หน้าที่การงานและสถานะครอบครัวต่างกัน แต่หนุ่มสาวมิลเลนเนียลกลุ่มนี้มีมุมมองต่ออนาคตที่เหมือนกันในหลายๆ ด้าน พวกเขามุ่งมั่นที่จะสร้างความสมดุลในชีวิต ซึ่งหมายถึงความมั่นคงทางอาชีพและความมั่งคั่งทางการเงิน คนรุ่นนี้มีทางเลือกในการใช้ชีวิตแบบที่ตนต้องการ และต้องการประสบความสำเร็จตามเงื่อนไขของตัวเอง

เมื่อให้นิยามคำว่า “พรุ่งนี้” มิลเลนเนียลในช่วงวัยที่ต่างกัน การรับรู้ในช่วงเวลาก็ต่างกันด้วย กลุ่มมิลเลนเนียลตอนต้น (อายุระหว่าง 30 ถึง 39 ปี) จะมองภาพวันพรุ่งนี้ในระยะยาวระหว่าง 5 ถึง 10 ปี แต่สำหรับกลุ่มมิลเลนเนียลตอนปลาย (อายุระหว่าง 23 ถึง 30 ปี) จะมองว่าพรุ่งนี้ก็คือวันถัดจากวันนี้ ซึ่งสิ่งนี้อาจเกิดจากประสบการณ์ชีวิตที่มิลเลนเนียลสองช่วงวัยนี้พบและสั่งสมมาต่างกัน

เมื่อทำความเข้าใจภาพวาดและความหมายที่ซ่อนอยู่ คุณฟ้าใส วิเศษกุล นักศิลปะบำบัด บอกว่ามีปัจจัยหลัก 3 อย่างที่ขับเคลื่อนหนุ่มสาวมิลเลนเนียลไทย ได้แก่ ความต้องการที่จะไล่ตามความใฝ่ฝัน การสนับสนุนจากวงสังคมและความรู้สึกของการมองโลกในแง่ดี

“การสร้างสรรค์ศิลปะเป็นการใช้สมองซีกขวาที่เป็นด้านของความทรงจำ จินตนาการ และอารมณ์ มากกว่าการแสดงออกทางคำพูด คิด วิเคราะห์ ดังนั้นกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะช่วยให้มิลเลนเนียลกลุ่มนี้ สามารถแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก ความต้องการและประสบการณ์ต่างๆ ที่บางครั้งซ่อนอยู่ในส่วนลึก เมื่อดูจากภาพวาด เราจะเห็นสิ่งที่กลุ่มมิลเลนเนียลมองเหมือนกัน ทั้งในเรื่องทัศนคติ แรงบันดาลใจและคุณค่าที่พวกเขามองดูอนาคตและการใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในแบบฉบับของคนกลุ่มนี้” คุณฟ้าใส กล่าว

ไล่ตามตามอาชีพในฝัน

ผลงานศิลปะสะท้อนให้เห็นว่าหนุ่มสาวมิลเลนเนียล เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะเดินตามอาชีพหรืองานในฝันของตัวเอง เมื่อค้นพบตัวเองและอาชีพในฝันแล้ว พวกเขายินดีที่จะเริ่มต้นในสายงานนั้นแม้ในตำแหน่งจูเนียร์เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มากที่สุด รวมทั้งพัฒนาตัวเองให้มีทักษะเพิ่มเติม เช่นทักษะด้านภาษา เพื่อไปให้ถึงความฝันนั้นได้

ออกเดินทางสู่ปลายทางในฝันด้วยตัวเอง

เมื่อถามถึงภาพอนาคต มากกว่า 6 ใน 12 คนได้มีการวาดภาพเครื่องบิน แลนด์มาร์คสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ รวมถึงจุดหมายปลายทางในฝัน สิ่งนี้เป็นภาพสะท้อนของแรงบันดาลใจของพวกเขาที่จะได้สัมผัสกับสถานที่ต่างๆ ในต่างแดน โดยไปสัมผัสด้วยตัวเอง ไม่ใช่แค่เพียงมองดูรูปถ่ายของคนอื่นในโซเชียลมีเดีย พวกเขายังมีความปรารถนาที่จะเดินทางท่องเที่ยวไปในทุกทวีป เพื่อสัมผัสวัฒนธรรมต่างๆ กัน

ชีวิตเรา เรากำหนดเอง

ผลงานศิลปะของทั้ง 12 คน ชี้ให้เห็นความชอบที่จะเป็นอิสระจากกิจวัตรประจำวันหรืองานประจำ เพื่อที่จะได้มีโอกาสทำให้เป้าหมายและความฝันของพวกเขาเป็นจริง พวกเขาต้องการกำหนดและควบคุมชีวิตของตัวเอง โดยต้องเป็นตัวของตัวเองและได้ทำในสิ่งที่รัก

คุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี (ไทย) บอกว่า ธนาคารได้ออกแบบพัฒนา TMRW บริการธนาคารผ่านช่องทางดิจิทัลบนมือถือขึ้นมาเพื่อตอบรับความหลากหลายของกลุ่มมิลเลนเนียลไทย เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

“เราต้องการที่จะเข้าใจมิลเลนเนียลไทยอย่างลึกซึ้ง นอกเหนือจากข้อมูลเชิงสถิติ ซึ่งการทำเวิร์คช็อปรู้จักตัวตนผ่านศิลปะช่วยทำให้เรารู้จักและเข้าใจความรู้สึกนึกคิดข้างในของกลุ่มมิลเลนเนียลไทยได้ดียิ่งขึ้น ผลที่ได้จากการทำเวิร์คช็อปยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างของทั้งคนในแต่ละเจเนนอเรชันรวมถึงในเจเนอเรชันเดียวกัน เหตุนี้เองการพัฒนาสร้างสรรค์ TMRW ขึ้นมาจึงเพื่อมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ตอบสนองต่อความต้องการทางการเงินที่แตกต่างเฉพาะบุคคลให้กลุ่มดิจิทัลเจเนอเรชันชาวไทย” คุณยุทธชัย กล่าว

วันที่  9 พฤษภาคม  2562
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สายงานบริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
นิดา ภู่วนิชย์ โทร . 0-2343-4963