กลโกงเดิมๆ ที่หลอกเงินได้ไม่รู้จบ


กลโกงเดิมๆ ที่มิจฉาชีพใช้หลอกเงินก้อนใหญ่หลักแสน หลักล้านได้ผลมายาวนาน มักจะมาพร้อมกับ “ประโยคต้องสงสัย” อะไรบ้างที่พอได้ยินแล้ว ควรจะตั้งการ์ดสูง ตั้งสติให้มั่น ตรวจสอบข้อมูลและแหล่งที่มาให้ชัดเจน ป้องกันการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

  • แอบอ้างหน่วยงานราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ เกี่ยวกับคดีหรืออาชญากรรม
    แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย หรือหน่วยงานราชการ แจ้งว่าเหยื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีร้ายแรง อาจใช้ video call ผ่านแชตไลน์หรือ
    ประโยคต้องสงสัย:
    - คุณเกี่ยวข้องกับคดีฟอกเงิน ต้องโอนเงินมาเพื่อตรวจสอบเส้นทางเงิน​
    - มีหมายจับออกแล้ว ต้องรีบเคลียร์สถานะ โอนเงินทั้งหมดมาให้ตรวจสอบ​
    - คุณมีพัสดุต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อตรวจสอบเส้นทางเงิน ให้โอนเงินจากทุกบัญชีมาตอนนี้ ห้ามบอกใคร
  • สร้างเรื่องเหตุฉุกเฉินของคนใกล้ตัว
    มาในรูปของการโทรหรือแชต แอบอ้างว่าเป็นคนใกล้ตัวที่กำลังเดือดร้อน ต้องการเงินด่วน เช่น มีอุบัติเหตุ ถูกตำรวจจับ
    ประโยคต้องสงสัย:
    - ลูกคุณประสบอุบัติเหตุ ต้องจ่ายค่ารักษาด่วน​
    - ลูกคุณต้องคดีร้ายแรง ตอนนี้อยู่ที่สถานีตำรวจ ให้โอนเงินมาประกันตัว​
    - ฉันเอง จำได้ไหม? (อ้างว่าเป็นเพื่อน หรือญาติมิตร) เปลี่ยนเบอร์ใหม่ มีเรื่องด่วน ต้องใช้เงินตอนนี้
  • หลอกลงทุน การันตีผลกำไรสูง
    อาจแอบอ้างตัวเป็นกูรู หรือนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หลอกด้วยการลงทุนหลายรูปแบบ เช่น Forex หุ้นกู้ คริปโต ทอง บ้านออมเงิน ที่มีผลตอบแทนสูงยั่วใจ เริ่มต้นด้วยจำนวนน้อย และคืนผลตอบแทนให้จริง แต่เมื่อลงทุนเพิ่มแล้ว และต้องการถอนทุนคืน จะมีข้ออ้างในการประวิงเวลาหรือบล็อกการติดต่อไป
    ประโยคต้องสงสัย:
    - ลงทุนวันนี้ การันตีรับผลตอบแทน 10 เท่า
    - เริ่มต้นแค่หลักร้อย กำไรหลักหมื่น
    - แอปนี้เทรดง่าย ปลอดภัย มีมืออาชีพดูแล กำไรทุกคน
  • ส่งลิงก์ปลอม หลอกขอข้อมูลส่วนตัว
    การคลิกลิงก์จากอีเมลหรือ SMS เพื่อขอข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ โดยแอบอ้างธุรกิจต่างๆ เช่น บริษัทขนส่ง ธนาคาร บริการออนไลน์ต่างๆ ที่ต้องต่ออายุ เช่น Online Streaming, Cloud Storage หรือ Online Subscription ต่างๆ
    ประโยคต้องสงสัย:
    - พัสดุของคุณค้างอยู่ กรุณาชำระค่าขนส่งโดยด่วน คลิก...
    - ยอดเงินผิดปกติ กรุณาตรวจสอบผ่านลิงก์นี้
    - ดาวน์โหลดแอปเพื่อยืนยันตัวตน ป้องกันบัญชีถูกอายัด คลิก...
    - กรุณาอัปเดตข้อมูล เพื่อยืนยันการใช้บริการต่อเนื่อง คลิก...

วิธีป้องกัน / รับมือ:

  • ตั้งสติ และตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเสมอ และตรวจสอบให้มั่นใจว่าเป็นช่องทางการติดต่อที่เป็นทางการของหน่วยงานนั้นๆ หรือคนในครอบครัวจริงๆ ก่อนทำธุรกรรม หรือให้ข้อมูลส่วนตัว​
  • หากพบเหตุมิจฉาชีพหลอกโกงเงิน สามารถติดต่อศูนย์แจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคารเจ้าของบัญชี สำหรับลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2344 9555

ติดต่อเรา: บริการช่วยเหลือลูกค้ายูโอบี และรายละเอียดการติดต่อ

ไอคอนศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี

ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี

ไอคอนติดต่อเรา

ติดต่อเรา

ไอคอนตำแหน่งของยูโอบี

ที่ตั้งสาขาและตู้เอทีเอ็มยูโอบี