กลโกงกวาดเงินเกษียณ


วัยเกษียณกลายเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพ เพราะมีทั้งเงินก้อน มีเวลาว่าง และกำลังมองหาการลงทุนเพื่อสร้าง passive income ให้เงินก้อนที่มีอยู่งอกเงย เพื่อใช้ชีวิตมั่นคงในบั้นปลาย หรือกำลังเหงา และต้องการเพื่อนคุยที่เข้าใจ

มิจฉาชีพมักจะแผงตัวเข้ามาในโซเชียลมีเดีย กลุ่มสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อเริ่มต้นพูดคุย และสร้างโปรไฟล์ให้ดูน่าสนใจ น่าเชื่อถือ กลโกงที่พบบ่อย ได้แก่
1. หลอกให้ลงทุน อาจปลอมเป็นกูรู หรือโอ้อวดความสำเร็จจากการลงทุน การันตีผลตอบแทนสูงเกินจริง มักหลอกให้เริ่มต้นจากลงทุนจำนวนน้อยๆ ก่อน อาจมีการคืนผลตอบแทนให้ 1-2 ครั้ง ก่อนลวงให้ลงทุนจำนวนมากขึ้น และไม่คืนเงินทั้งหมด
2. หลอกให้รัก เมื่อเชื่อใจแล้ว ก็จะหลอกยืมเงิน หรือไปต่อด้วยกลลวงอื่น เช่น หลอกลงทุน
3. หลอกให้คลิก เช่น แอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐ หลอกให้โอนเงินเพื่อตรวจสอบเส้นทางเงิน โอนค่าธรรมเนียม หรือคลิกลิงก์เพื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรับเงินบำนาญ เงินช่วยเหลือคนชรา หรือสวัสดิการอื่นๆ ของภาครัฐ และนำข้อมูลไปใช้โกงต่อ

เหยื่ออาจสูญเสียเงินตั้งแต่หลักพัน ไปจนถึงหลักล้าน บ้างก็ถึงขั้นหมดตัว หมดเงินที่เก็บมาตลอดชีวิต ความเสียหายยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่กล้าบอกครอบครัว หรือซึมเศร้าจากความผิดหวัง และความเครียด

วิธีป้องกัน / รับมือ:

  • ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเสมอ และตรวจสอบให้มั่นใจกับช่องทางการติดต่อที่เป็นทางการของหน่วยงานนั้นๆ ก่อนทำธุรกรรมเสมอ
  • หากพบเหตุมิจฉาชีพหลอกลงทุน ติดต่อสายด่วนแจ้งเหตุหลอกลงทุนของ กลต. โทร. 1207 กด 22 หรือ เว็บไซต์ www.sec.or.th/scamalert
  • ลูกค้าธนาคารยูโอบี พบหรือสงสัยเหตุหลอกลวงทางการเงิน ติดต่อศูนย์แจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร สำหรับลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2344 9555

ติดต่อเรา: บริการช่วยเหลือลูกค้ายูโอบี และรายละเอียดการติดต่อ

ไอคอนศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี

ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี

ไอคอนติดต่อเรา

ติดต่อเรา

ไอคอนตำแหน่งของยูโอบี

ที่ตั้งสาขาและตู้เอทีเอ็มยูโอบี