You are now reading:
แนะนำช่องทางลดหย่อนภาษีปี 2567 เลือกอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนที่มั่นคงและคุ้มค่า
แค่ฝากเงิน ฟรีประกัน 7 โรคมะเร็งในผู้หญิง รับความคุ้มครองทุกระยะ ตั้งแต่ตรวจพบ เจอ-จ่าย-จบ สูงสุด 2 ล้านบาท
รายละเอียดคุณกำลังอยู่ที่ ลูกค้าบุคคลทั่วไป
You are now reading:
แนะนำช่องทางลดหย่อนภาษีปี 2567 เลือกอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนที่มั่นคงและคุ้มค่า
ในช่วงต้นปีของทุกๆ ปี บุคคลทั่วไปมีหน้าที่จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่ารายได้จะถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดว่าจะต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม แน่นอนว่าผู้ที่มีรายได้สูงกว่า อาจต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าด้วย การวางแผนลดหย่อนภาษีจึงถือเป็นเรื่องที่ผู้มีรายได้ทุกคนศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างคุ้มค่า ช่องทางการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง และรายได้ประเภทใดที่ลดหย่อนภาษีแล้วคุ้มค่า มาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันได้ที่นี่
สำหรับผู้ที่เพิ่งเรียนจบใหม่ หรือเหล่า First Jobber หลายคนคงมีข้อสงสัยไม่น้อยก่อนที่จะยื่นภาษีในช่วง 2-3 ปีแรก ว่าเงินเดือนหรือรายได้เท่าไหร่ถึงจะต้องเสียภาษี ซึ่งเราสามารถคำนวณได้ง่ายๆ คือ หากนำเงินรายได้ต่อปีทั้งหมดหักลบกับค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วไม่เกิน 150,000 บาท หรือผู้ที่มีเงินเดือนเฉลี่ยไม่เกิน 26,000 บาท มักจะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ผู้มีรายได้ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องยื่นภาษีทุกปี แม้ว่าหลังหักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทหรือมีเงินเดือนเฉลี่ยยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตามสำหรับผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เรามาดูกันดีกว่าว่ามีช่องทางอะไรบ้างที่ช่วยลดหย่อนภาษีให้เราได้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจและเตรียมตัววางแผนในการลดหย่อนภาษีให้คุ้มค่า
ประกันสังคม ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันสำหรับพนักงานบริษัท หรือมนุษย์เงินเดือนที่อยู่ในระบบประกันสังคมทุกคนสามารถนำมาลดหย่อนได้
เบี้ยประกันสุขภาพของตนเอง ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท ประกันสุขภาพของตนเองที่ดูแลรักษาความเจ็บป่วย ประกันอุบัติเหตุ ประกันเงินออมระยะยาวและประกันการดูแลระยะยาว นอกจากสามารถดูแลคุ้มครองปัญหาสุขภาพให้เราได้แล้ว เบี้ยประกันที่เราจ่ายไปในทุกๆ เดือน ยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท สำหรับลูกๆ ที่ห่วงใยสุขภาพของพ่อและแม่ ทั้งพ่อแม่ของตนเองหรือของคู่สมรส สามารถทำประกันสุขภาพและนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่มาลดหย่อนภาษีร่วมกันได้
ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท โดยค่าลดหย่อนนี้สามารถคิดรวมกับค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพของตนเองได้ แต่เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท แต่เงื่อนไขที่สำคัญ คือ ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิจในประเทศไทยและต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี ขึ้นไป
ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขสำคัญจะเป็นเช่นเดียวกับประกันชีวิตทั่วไป แต่จะต้องเลือกการจ่ายผลประโยชน์ให้อยู่ในช่วงอายุ 55-85 ปี
สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชีวิตที่เหมาะกับคุณเพื่อลดหย่อนภาษี คลิกที่นี่ ประกันภัยจากธนาคารยูโอบี
เงินสมทบ กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับผู้ที่เป็นข้าราชการ และได้ส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือบุคลากรโรงเรียนเอกชน ที่ได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน รวมถึงผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชน และได้ส่งเงินเข้ากองทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในทุกๆ เดือน ก็สามารถนำเงินก้อนนี้มาใช้ลดหย่อนภาษีได้
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) ในส่วนของ RMF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี และในส่วนของ SSF สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี สำหรับคนที่ต้องการลงทุนในระยะยาว เพื่อใช้จ่ายยามเกษียณ RMF หรือ SSF เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยสามารถนำเงินที่ลงทุนในกองทุนเหล่านี้มาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 30,000 บาท กองทุนนี้มีเป้าหมายการออมเพื่อวัยเกษียณ ซึ่งไม่เพียงมาช่วยเหลือจัดการเงินบำนาญยามเกษียณเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise ลดหย่อนตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท Social Enterprise (SE) เป็นกิจการที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่นักลงทุนอิสระสามารถมาลงทุนและนำค่าใช้จ่ายในการลงทุนมาใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
สนใจศึกษารายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกี่ยวกับกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี คลิกที่นี่ กองทุนรวม UOBAM
เพราะเรื่องภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัว หากเรามีความเข้าใจและวางแผนบริหารจัดการทางด้านภาษีเป็นอย่างดี จะช่วยให้เราสามารถบริหารการเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประโยชน์และคุ้มค่ากว่าได้
หมายเหตุ : ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูล หรือปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน