You are now reading:
3 กฎเหล็กวิธีเก็บเงิน สําหรับคนเก็บเงินไม่อยู่
แค่ฝากเงิน ฟรีประกัน 7 โรคมะเร็งในผู้หญิง รับความคุ้มครองทุกระยะ ตั้งแต่ตรวจพบ เจอ-จ่าย-จบ สูงสุด 2 ล้านบาท
รายละเอียดลงทุนในกองทุน United CIO Income Fund และ United CIO Growth Fund บริหารกองทุนโดย Chief Investment Officer จาก UOB Private Bank
เพิ่มเติมคุณกำลังอยู่ที่ ลูกค้าบุคคลทั่วไป
You are now reading:
3 กฎเหล็กวิธีเก็บเงิน สําหรับคนเก็บเงินไม่อยู่
สำหรับหลาย ๆ คนที่คิดว่าการเก็บออมเงินไม่ใช่เรื่องง่าย พยายามเก็บเงินเท่าไรก็ไม่สำเร็จสักที วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณเก็บเงินให้อยู่ และสามารถเก็บออมเงินได้ตามเป้าหมายมาฝาก
สำหรับคนที่ไม่เคยมีเงินเก็บออม และคิดว่าการเก็บเงินนั้นเป็นเรื่องไกลตัวและเป็นไปไม่ได้ คุณอาจจะลองเริ่มจากการตั้งเป้าหมายการออมเงินของตนเอง โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีกรอบเวลากำกับที่ชัดเจน เพื่อให้เป้าหมายนั้นสามารถบรรลุผลได้จริง คุณสามารถใช้หลัก SMART ช่วยในการตั้งเป้าหมายได้ ดังนี้
S: Specific เจาะจงเป้าหมายให้ชัดเจน |
M: Measurable สามารถวัดผลได้อย่าง เป็นรูปธรรม |
A: Achievable ทำได้จริง |
R: Realistic สมเหตุสมผล |
T: Time-bound มีกรอบเวลาที่ชัดเจน |
ควรตั้งเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เพื่อให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของเป้าหมายนั้น ตัวอย่าง “ฉันจะเก็บเงินเพื่อใช้ตอนเกษียณ” “ฉันจะเก็บเงินเพื่อซื้อรถยนต์” “ฉันต้องการมีอิสรภาพทางการเงิน” |
ควรตั้งเป้าหมายให้ สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่าง ต้องการเก็บออมเงินให้ได้ 10 ล้านบาท |
เป้าหมายที่ตั้งไว้จะต้องสามารถทำได้จริง ตัวอย่าง ต้องการมีเงินเก็บ 1 ล้านบาท จึงลงทุนในกองทุนรวมที่มีผลกำไร 6% เดือนละ 20,000 บาท* |
อย่าตั้งเป้าหมายการออมเงินที่เกินตัวหรือยากจนเกินไป เพราะ นอกจากจะไม่ช่วยสร้างแรงจูงใจแล้ว อาจจะทำให้คุณรู้สึกท้อและหยุดทำตามแผนไปกลางคันได้ ตัวอย่าง เก็บเงิน 10% ของรายได้สุทธิ เช่น เงินเดือน 30,000 บาท เก็บเดือนละ 3,000 บาท เมื่อเงินได้ปีต่อไปเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 บาท ก็เก็บเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 บาทต่อเดือน |
กำหนดกรอบระยะเวลาที่แน่นอน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คุณคิดแผนและวิธีการออมเงินที่ชัดเจน รวมถึงออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่าง ภายในระยะเวลา 5 ปี |
* ข้อมูลอ้างอิง โปรแกรมคำนวณเงินออม ธนาคารแห่งประเทศไทย https://www.bot.or.th/th/satang-story/financial-tools/savings-tools.html
สำหรับใครที่มักจะเก็บเงินไม่อยู่ แต่ต้องการเก็บเงินให้เห็นผลชัดเจน แนวคิดที่ว่า “เก็บก่อน แล้วที่เหลือค่อยใช้” จะเป็นประโยชน์กับแผนการออมเงินของคุณอย่างมาก โดยคุณสามารถแบ่งเงินเก็บออกเป็น 4 ส่วนดังต่อไปนี้
เงินเก็บส่วนแรกที่เราควรมีไว้ คือ เงินเก็บเผื่อฉุกเฉิน สำหรับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันซึ่งต้องใช้เงินในการแก้ปัญหา จำนวนเงินเก็บฉุกเฉินที่ควรมี คือ ประมาณ 6-12 เดือนของรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่อเดือนเป็นอย่างน้อย โดยควรเก็บออมไว้ในบัญชีที่มีสภาพคล่องสูงที่สามารถฝาก-ถอนได้ทันที
แนะนำบัญชีเงินฝากไม่ประจำ UOB STASH
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบัญชีเงินฝากสำหรับเงินเก็บฉุกเฉิน ที่ฝาก-ถอนง่าย แต่ยังได้รับดอกเบี้ยสูง ขอแนะนำบัญชีเงินฝากไม่ประจำ UOB STASH ดอกเบี้ยสูง และยังมีดอกเบี้ยโบนัสเพิ่ม ง่าย ๆ เพียงคงเงินฝากหรือฝากเงินเพิ่ม ให้ยอดฝากเฉลี่ยของเดือนปัจจุบันมากกว่าหรือเท่ากับเดือนที่แล้ว ก็จะได้รับดอกเบี้ยรวมโบนัสทุกเดือนสูงสุด 1.50% ต่อปี* สมัครง่ายผ่านแอปฯ UOB TMRW
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด / เงินฝากนี้ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
การวางแผน “เงินเก็บเพื่อวัยเกษียณ” ไว้แต่เนิ่น ๆ เมื่ออายุยังน้อยในขณะที่ยังมีรายได้สม่ำเสมอ จะช่วยลดภาระทางการเงินและช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบาย ๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงบั้นปลายของชีวิต สำหรับการเก็บออมเงินเพื่อวัยเกษียณนั้นควรเน้นการออมที่มีสภาพคล่องต่ำและเป็นการออมในระยะยาว เช่น การซื้อสลากออมสิน พันธบัตร หุ้นกู้ หรือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเกษียณ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนอื่น ๆ ซึ่งบางกองทุนนอกจากจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
การเก็บเงินในส่วนนี้เป็นทางเลือกในกรณีที่คุณมีแผนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการบางอย่างตามความต้องการของตนเองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น การท่องเที่ยว การตกแต่งบ้าน และการจัดงานแต่งงาน เป็นต้น คุณควรกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายการออมเงินตามแผนที่วางไว้ได้
นอกจากการวางแผนการออมเงินในรูปแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว การแบ่งสัดส่วนเงินเก็บเพื่อนำไปลงทุนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เงินเก็บของคุณงอกเงยได้มากยิ่งขึ้น เช่น การลงทุนในกองทุนรวม หรือ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุกการลงทุนมีความเสี่ยง คุณจึงควรศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
หลังจากการแบ่งสัดส่วนเงินสำหรับการเก็บออมต่าง ๆ แล้ว คุณควรจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายรายวันเพื่อช่วยควบคุมและบริหารการใช้จ่ายเงินในส่วนที่เหลือด้วย การทำบัญชีค่าใช้จ่ายรายวันโดยละเอียด นอกจากจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของรายจ่ายในแต่ละวันแล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถพิจารณาตัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในแต่ละเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ปัจจุบันบัญชีค่าใช้จ่ายรายวันสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากมีแอปพลิเคชันทั้งของไทยและต่างประเทศมากมายให้เลือกใช้ หรือคุณอาจจะเลือกใช้วิธีจดบันทึกแบบดั้งเดิม เช่น Excel, Google Sheet หรือสมุดจดบันทึก ก็ได้เช่นกัน
แนะนำบัญชี UOB One Account โอน จ่าย ทำธุรกรรมฟรี
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบัญชีเงินฝากสำหรับใช้จ่ายประจำวัน ขอแนะนำบัญชีออมทรัพย์ UOB ONE ACCOUNT รับดอกเบี้ยโบนัสง่าย ๆ เพียงใช้จ่ายประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น โอน-รับเงินเข้าบัญชี จ่ายบิลออนไลน์ ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต** หรือใช้เป็นบัญชีรับเงินเดือน โดยทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้ครบเพียง 4 ครั้งต่อเดือน รับดอกเบี้ยรวมโบนัสสูงสุด 1.25% ต่อปี* สามารถฝาก-ถอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สมัครง่ายผ่านแอปฯ UOB TMRW
* เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด / เงินฝากนี้ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
** ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้การเก็บออมเงินของคุณประสบความสำเร็จได้ตามที่ตั้งใจไว้ สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยในการเก็บเงินอื่น ๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บัญชีเงินฝากธนาคารยูโอบี ทั้งหมดได้ที่นี่