ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล

ความยั่งยืนถือเป็นความรับผิดชอบที่พนักงานทุกคนของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ต้องธำรงไว้ เพราะเรายึดมั่นต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ ธนาคารจึงระบุหา ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ความท้าทาย ผลกระทบ และโอกาส ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบการกำกับดูแลที่เคร่งครัด และตั้งอยู่บนพื้นฐานของนโยบายและแนวทางที่เป็นตัวกำหนดคำมั่นและชี้แนวทางในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

โครงสร้างการกำกับดูแลของธนาคาร

คณะกรรมการธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และคณะกรรมการจัดการ ทบทวนเป้าหมายทางธุรกิจและขององค์กรในระยะยาว อีกทั้งกำหนดทิศทางเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนของธนาคาร รวมถึงแนวทางปฏิบัติเพื่อรับมือกับประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้คณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการจัดการยังทบทวน กำหนด และกำกับดูแลการบริหารจัดการ และติดตามตรวจสอบปัจจัยที่มีนัยสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของธนาคาร ขอบเขตของแต่ละปัจจัย ตลอดจนประเมินดัชนีวัดผลการดำเนินงานสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะกรรมการธนาคารยังมีหน้าที่ทบทวนและอนุมัติการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


คณะกรรมการความยั่งยืนรายงานประเด็นด้านความยั่งยืนตรงต่อคณะกรรมการจัดการ เพื่อให้มั่นใจว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกแง่มุมของการดำเนินการของธนาคาร คณะกรรมการความยั่งยืนประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยธุรกิจและสนับสนุนของธนาคารที่มีความเป็นไปได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ คณะกรรมการความยั่งยืนมีหน้าที่พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่มีนัยสำคัญ ระบุหาความเสี่ยงและโอกาส กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ประเมินปัญหาที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบและประเมินข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการและแผนงานที่เกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืน

กรอบงานด้านความยั่งยืน

ธนาคารยูโอบีได้กำหนดกรอบงานด้านความยั่งยืนอย่างเป็นทางการขึ้นในปี 2563 โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของนโยบายและแนวทางที่เป็นตัวกำหนดคำมั่นและชี้แนวทางในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้านธุรกิจในทุกระดับของธนาคาร ชี้แนะแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืนและโอกาสทางธุรกิจภายในบริบทของผลกระทบของเราที่เกิดต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

พนักงานของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกรอบงานด้านความยั่งยืนนี้ โดยทีมผู้บริหารของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะประเมินประเด็นปัญหาด้านความยั่งยืนภายในขอบเขตที่เกี่ยวเนื่อง และดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้ลูกค้าและผู้ผลิตและจัดหาสินค้าของธนาคารปฏิบัติตามข้อกำหนดของนโยบายที่เกี่ยวเนื่องเมื่อจำเป็น นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รวมดัชนีความยั่งยืนเข้าไว้ในดัชนีวัดผลการดำเนินงานที่สำคัญและกระบวนการประเมินสำหรับพนักงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง

การบริหารและจัดการความเสี่ยงของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ส่งผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของพนักงานทุกคนในองค์กร การบริหารและจัดการความเสี่ยงที่รัดกุมนี้ช่วยธำรงไว้ซึ่งค่านิยมของธนาคาร สร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธนาคาร ปกป้องชื่อเสียง และเสริมสร้างความตระหนักรู้ การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่เหมาะสมและเกี่ยวเนื่องกับการรับความเสี่ยงภายใต้กรอบธรรมาภิบาลของเรา

วัฒนธรรมการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่ดีถือเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ธนาคารระบุหา ประเมิน ติดตามตรวจสอบ รายงาน และจัดการความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่างๆ อย่างเป็นระบบในระยะเวลาที่เหมาะสม



การรายงานประเด็นปัญหาที่น่าสงสัยผ่านช่องทางอิสระ

เรายังได้กำหนดนโยบาย Whistleblowing เพื่อให้พนักงานรายงานประเด็นปัญหาที่น่าสงสัยผ่านช่องทางอิสระได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลถึงการถูกคุกคาม ทั้งนี้ แผนกตรวจสอบภายในจะสอบสวนหาข้อเท็จจริงทุกกรณีที่ได้รับรายงานอย่างเป็นความลับระดับสูงสุดและจัดการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ธนาคารจะติดตามและรายงานสถานะของกรณีที่ได้รับรายงานทุกกรณีไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ทุกไตรมาส

ผู้แจ้งเหตุผิดปกติสามารถนำส่งรายงานทางไปรษณีย์ (ระบุหมายเหตุ “ส่วนบุคคลและลับเฉพาะ”) เรียน หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ที่อยู่ 690 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือ ทางอีเมลล์ที่ whistleblowing@uob.co.th

แจ้งเหตุผิดปกติ

การห้ามมิให้มีการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์

พนักงานธนาคารยูโอบีทุกคนจะต้องปฏิบัติตนอย่างซื่อสัตย์และซื่อตรง ซึ่งรวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลที่ได้จากการทำงาน โดยจะต้องปฏิบัติตามนโยบายของกลุ่มธนาคารยูโอบีในเรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งกำกับดูแลมิให้มีการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และกำหนดกรอบการดำเนินงานสำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ พนักงานทุกคนจะต้องผ่านหลักสูตรออนไลน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์และการป้องกันการกรทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นประจำทุกปี

ทั้งนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มีระบบ Pre-Trade Clearance System (PTCS) ที่กำหนดให้พนักงานที่อาจมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลภายใน ต้องแจ้งและขออนุมัติก่อนจะทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับธุรกิจ (Compliance) ยังมีหน้าที่ทบทวนการทำธุรกรรมหลักทรัพย์เป็นประจำ เพื่อตรวจหาการฝ่าฝืนหรือละเมิดที่อาจจะเกิดขึ้น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง