ในยุคที่ต้นทุนการดำเนินธุรกิจปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ การผลิตและการบริหารสินค้าคงคลัง ต้นทุนการขนส่ง ค่าแรง และต้นทุนอื่นๆ การบริหารจัดการต้นทุนจึงกลายเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาสภาพคล่องทางการเงินและการรักษาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการในภาคการค้าระหว่างประเทศที่นอกจากจะต้องบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ แล้ว ยังจะต้องรับมือกับความผันผวนของมาตรการทางภาษีต่างๆ ด้วย บทความนี้จะพาคุณไปเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการภาษีสำหรับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พร้อมแนะนำโปรแกรมจัดการภาษีที่จะช่วยให้คุณบริการจัดการจัดการบัญชี การเงิน และภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแนะนำสินเชื่อเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และบริการโอนเงินระหว่างประเทศพร้อมสิทธิพิเศษสุดคุ้ม
ภาษีนำเข้า–ภาษีส่งออก ประเภทหลักๆ มีอะไรบ้าง
การนำเข้าและส่งออกสินค้ามีภาษีหลายประเภทที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถวางแผนและบริหารจัดการภาษีแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ประเภทหลักของภาษีนำเข้าและภาษีส่งออกมีดังนี้
ภาษีนำเข้า (Import Duties)
1. อากรขาเข้า (Import Duties)
อากรขาเข้า คือ อัตราภาษีที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้ามาในประเทศ ซึ่งคิดตามพิกัดศุลกากร หรือ HS Code (Harmonised System Code) ที่กำหนดไว้ตามชนิดของสินค้า สินค้าบางประเภทเรียกเก็บตามราคา บางประเภทเรียกเก็บตามสภาพ หรือบางประเภทเรียกเก็บทั้งตามราคาและตามสภาพ หรือสินค้าบางประเภทอาจได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียอากร
- อัตราอากรตามราคา (Ad Valorem Duty Rate) หมายถึง อัตราอากรที่คิดเป็นร้อยละของราคา CIF (Cost, Insurance, and Freight) เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์อัตราร้อยละ 30 เคเบิลอัตราร้อยละ 35 และเฟอร์นิเจอร์ทำด้วยโลหะ ชนิดที่ใช้ในสำนักงานอัตราร้อยละ 80เป็นต้น
- อัตราอากรตามสภาพ (Specific Duty Rate) หมายถึง อัตราอากรที่คิดตามจำนวนหน่วยของสินค้า เช่น น้ำแร่ลิตรละ 2.00 บาท ข้าวโพดใช้สำหรับการเพาะปลูกกิโลกรัมละ 2.75 บาท และน้ำตาลทรายบริสุทธิ์กิโลกรัมละ 3.50 บาท เป็นต้น
- อัตราอากรตามราคาและตามสภาพ หมายถึง อัตราอากรที่คิดทั้งตามร้อยละของราคา CIF และตามจำนวนหน่วยของสินค้าแล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะสูงกว่า เช่น กาแฟอะราบิกาที่ไม่ได้คั่วและไม่ได้แยกเอากาเฟอีนออกอัตราร้อยละ 40 หรือกิโลกรัมละ 4.00 บาท หินอ่อนอัตราร้อยละ 80 หรือกิโลกรัมละ 10.00 บาท และน้ำมันและแฟรกชันของน้ำมันที่ได้จากเมล็ดทานตะวัน (น้ำมันดิบ) อัตราร้อยละ 30 หรือลิตรละ 0.85 บาท เป็นต้น
พิกัดศุลกากร หรือ HS Code คืออะไร?
พิกัดศุลกากร หรือ HS Code (Harmonised System Code) คือ รหัสมาตรฐานสำหรับสินค้าแต่ละประเภทซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การศุลกากรโลก (WCO: World Customs Organisation) เพื่อใช้ในการกำหนดนิยามและคุณลักษณะสินค้าเพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร การคิดอัตราภาษีอากรสำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ และการจัดเก็บสถิติการค้าระหว่างประเทศ ทำให้สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบสถิติการค้ากับประเทศคู่ค้าและคู่แข่งได้
2. ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax)
ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าพิเศษบางประเภทที่มีลักษณะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพ หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำหอม เครื่องดื่ม สุรา ยาสูบ ไพ่ เครื่องใช้ไฟฟ้า แก้วและเครื่องแก้ว หินอ่อนและหินแกรนิต น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน แบตเตอรี่ รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน) และรถจักรยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการบริโภคของสินค้าชนิดนั้นๆ และเพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐ
3. ภาษีเพื่อมหาดไทย (Interior Tax)
ภาษีเพื่อมหาดไทย คือ ภาษีที่จัดเก็บเพิ่มเติมจากภาษีสรรพสามิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ซึ่งภาษีเพื่อมหาดไทยนี้จะต้องชำระก็ต่อเมื่อสินค้าชนิดนั้นๆ ต้องเสียภาษีสรรพาสามิต เช่น น้ำหอม สุรา ยาสูบ ไพ่ และแบตเตอรี่ เป็นต้น
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ ผู้นำเข้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้า พร้อมกับอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) โดยทั่วไปอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 7
ภาษีส่งออก (Export Duties)
1. อากรขาออก (Export Duties)
อากรขาออก หมายถึง ภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเก็บจากการส่งสินค้าออกนอกประเทศ สินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกมีบางประเภทเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น หนังโค หนังกระบือ หรือสินค้าที่มาจากพื้นที่พัฒนา เช่น สินค้าจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area – JDA) (อ้างอิง: ประกาศกรมศุลกากร ที่ 103/2561)
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเรียกว่าอัตรา 0% (Zero Rate) เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ส่งออกจำเป็นจะต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงต้องมีหลักฐานยืนยันการส่งออก เช่น ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) และหลักฐานการรับชำระเงินจากต่างประเทศ อย่างครบถ้วนจึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
การวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างไร
การวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในหลายด้าน การวางแผนภาษีที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว
- ลดภาระภาษี การวางแผนภาษีที่ดีช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการหักลดหย่อนต่างๆ ที่กฎหมายอนุญาตได้อย่างเต็มที่ ทำให้ลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายได้
- บริหารความเสี่ยงทางภาษี การวางแผนภาษีช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบภาษีและการถูกปรับจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีของแต่ละประเทศ
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารกระแสเงินสด การวางแผนภาษีที่ดีช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารกระแสเงินสดได้ดีขึ้น ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจ
- สร้างความน่าเชื่อถือ การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอย่างถูกต้องและโปร่งใสช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาของลูกค้าและคู่ค้า
- เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การวางแผนภาษีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจสามารถเสนอราคาที่แข่งขันได้มากขึ้น ทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้
กลยุทธ์การจัดการภาษีนำเข้า–ภาษีส่งออกเพื่อลดต้นทุน
กลยุทธ์การจัดการภาษีเพื่อลดต้นทุน เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากภาษีศุลกากรสามารถกลายเป็นต้นทุนแฝงที่มีมูลค่าสูงหากไม่มีการวางแผนอย่างเหมาะสม กลยุทธ์ที่นิยมใช้เพื่อลดต้นทุนด้านภาษี มีดังนี้
-
เลือกใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
ประเทศไทยมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศ เช่น อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอื่นๆ สินค้านำเข้าหรือส่งออกภายใต้ FTA เหล่านี้อาจได้รับการยกเง้นหรือลดอัตราภาษีนำเข้า-ส่งออก ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้มาก
-
เลือกใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GPS)
การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา (GPS: Generalised System of Preferences) จะช่วยให้สินค้าจากประเทศไทยที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิ GSP จะเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ตำกว่าปกติ หรือได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าปัจจุบันไทยได้รับสิทธิ์ GSP จาก 6 ประเทศ/กลุ่มประเทศ ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้สิทธิ์ GSP เพื่อส่งออกไปยัง ญี่ปุ่น แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และประเทศในกลุ่ม EAEU เช่น รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย คีร์กีซสถาน เป็นต้น
-
เข้าร่วมโครงการคลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)
หากธุรกิจของคุณเป็นการนำเข้าสินค้าแบบชั่วคราวเพื่อการผลิตหรือแปรรูปเพื่อส่งออก (เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร) อาจสามารถยื่นขอยกเว้นอากรขาเข้าได้เมื่อเข้าร่วมโครงการคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือพื้นที่สำหรับเก็บสินค้านำเข้าจากต่างประเทศโดยที่ผู้นำเข้ายังไม่ต้องชำระภาษีอากรนำเข้าและขาออก ส่วนใหญ่คลังสินค้าประเภทนี้จะสามารถรองรับการจัดเก็บสินค้าได้นานสุดถึง 2 ปี ซึ่งผู้นำเข้าสามารถยื่นคำร้องในการพักสินค้าเพื่อชะลอการจ่ายภาษีอากรกับทางกรมศุลกากรได้
-
ขอรับการส่งเสริมและการใช้สิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้สิทธิประโยชน์ด้านอากรขาเข้าสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน โดยสามารถยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าที่ BOI ส่งเสริม ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
-
แยกประเภทพิกัดศุลกากรให้ถูกต้อง (HS Code)
การจัดประเภทสินค้าโดยระบุพิกัดศุลกากร (HS Code) ที่แม่นยำสามารถช่วยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีที่สูงเกินความจำเป็น หรือการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ในบางกรณี ผู้ประกอบการสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือยื่นคำขอรับรองพิกัดล่วงหน้ากับกรมศุลกากร (Binding Tariff Classification) หรือศึกษาพิกัดสินค้าที่มีอัตราภาษีต่ำและตรวจสอบว่าสินค้าของเราสามารถเข้าเงื่อนไขได้หรือไม่ เพื่อเป็นการวางแผนลดต้นทุนด้านภาษีในอีกทางหนึ่ง
-
ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Refund)
ในการส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถขอคืน VAT ที่จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อส่งออกได้ การขอคืนภาษีอย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มกระแสเงินสดกลับเข้าสู่ธุรกิจ
-
รวมการขนส่งและวางแผนล่วงหน้า
การรวมการนำเข้าหรือส่งออกเป็นล็อตใหญ่จะช่วยประหยัดค่าขนส่ง ค่าบริการเคลียร์สินค้า และลดต้นทุนภาษี (เนื่องจากบางกรณีมีอัตราภาษีขั้นต่ำ)
-
ใช้บริการศุลกากรแบบมืออาชีพ
การใช้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) ที่มีประสบการณ์สามารถช่วยวางแผนและดำเนินการนำเข้า-ส่งออกอย่างถูกต้องกตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงค่าปรับ ค่าธรรมเนียมส่วนเกิน และภาษีที่ไม่จำเป็นได้มาก
เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ช่วยบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีและเครื่องมือหลากหลายที่ช่วยให้การบริหารจัดการภาษีมีความแม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ที่รวมโมดูลด้านโลจิสติกส์และการนำเข้า-ส่งออก ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามและบริหารต้นทุนภาษีได้แบบเรียลไทม์ ลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการภาษีในทุกขั้นตอน
- Trade Compliance ระบบที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนำเข้า-ส่งออก เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของแต่ละประเทศ ลดความเสี่ยงในการถูกปรับหรือยึดสินค้า ช่วยให้การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย
- แนวโน้มดิจิทัลในด้านศุลกากรและภาษี เช่น ระบบ e-Customs, e-Form D และ e-Tax Invoice กำลังมีบทบาทมากขึ้นในการเพิ่มความรวดเร็ว โปร่งใส และลดความผิดพลาดในการจัดการเอกสารภาษี ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
- โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดการบัญชี การเงิน และภาษีเป็นเรื่องง่าย ด้วยเทคโนโลยี AI, API และ OCR ที่ทันสมัย PEAK ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการงานบัญชีและภาษีหลังบ้านได้โดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ ช่วยสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร กระแสเงินสด สินค้าขายดี หรือกลุ่มลูกค้ารายใหญ่แบบ Real-Time เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่แม่นยำและรวดเร็ว
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
เสริมสภาพคล่องธุรกิจด้วยสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ UOB Biztrade+ และบริการเงินโอนต่างประเทศขาออก (Outward Remittance)
แม้ว่าธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจะสามารถวางแผนและบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในบางช่วงเวลาอาจต้องเผชิญกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงินได้ เช่น ภาระจากภาษีนำเข้าที่ต้องชำระทันที หรือการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Refund) ซึ่งมักใช้เวลาหลายเดือน ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของธุรกิจของคุณได้
ขอแนะนำสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ UOB BizTrade+ ตัวช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ วงเงินสูงสุด 12 ล้านบาท โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผู้ประกอบการสามารถใช้วงเงินสินเชื่อได้หลากหลายวัตถุประสงค์ ทั้งเพื่อการนำเข้าและส่งออก การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงสินเชื่อใบแจ้งหนี้ และสินเชื่อใบสั่งซื้อที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินให้กับธุรกิจของคุณ
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
สำหรับธุรกิจที่ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศยังสามารถใช้บริการ Outward Remittance จากธนาคารยูโอบี ที่ช่วยให้สามารถโอนเงินไปยังผู้รับในต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ หรือวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
การวางแผนและจัดการภาษีอย่างรอบคอบไม่ได้เป็นเพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นกลยุทธ์การลดต้นทุนที่สำคัญในยุคที่มีการแข่งขันสูง และต้นทุนการดำเนินงานมีความผันผวน การวางแผนและบริหารจัดการภาษีนำเข้าและภาษีส่งออกอย่างมีกลยุทธ์ การใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้า และเทคโนโลยีต่างๆ อย่างเต็มที่ รวมถึงการใช้บริการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสม เช่น UOB BizTrade+ จะช่วยให้ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของคุณเดินหน้าต่อได้อย่างมั่นคง แม้ในช่วงที่ต้นทุนสูงขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง
- พิกัด ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?. สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2568 จากhttps://www.peakaccount.com/blog/tax/gen-tax/import-export-tax
- พิกัด ความสำคัญและความเป็นมาของ FTA. สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2568 จากhttps://shorturl.asia/1e2tR
- พิกัด e-Tax Invoice’ ทางเลือกนำส่งภาษียุคใหม่ เพื่อ SMEs ไทย ที่ไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด. สืบค้นวันที่ 17 เมษายน 2568 จากhttps://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/e-Tax-Invoice_smes.aspx
- พิกัด ศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System: HS). สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2568 จากhttps://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/news-and-media/media-gallery/infographic/hs-code_thai.pdf
- พิกัด อัตราขาเข้า. สืบค้นวันที่ 09 พฤษภาคม 2568 จาก http://itd.customs.go.th/igtf/viewerCont.do