BIBOR - อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ
![]() |
Global Markets
28 เมษายน 2559 |
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR rates)
ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2559 | 13: 15 น. |
ระยะเวลา | ล่าสุด 28 เมษายน 2559 |
เปลี่ยนแปลง | ย้อนหลัง 27 เมษายน 2559 |
ข้ามคืน | 1.50000 | 0.00000 | 1.50000 |
1 สัปดาห์ | 1.52000 | 0.00000 | 1.52000 |
1 เดือน | 1.53801 | 0.00001 | 1.53800 |
2 เดือน | 1.55825 | -0.00004 | 1.55829 |
3 เดือน | 1.59721 | -0.00003 | 1.59724 |
6 เดือน | 1.72045 | 0.00005 | 1.72040 |
9 เดือน | #REF! | #REF! | #REF! |
1 ปี | 1.98316 | 0.00096 | 1.98220 |
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (BIBOR) BIBOR (Bangkok Interbank Offered Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นอัตราที่ได้จากการเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยสำหรับการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารพาณิชย์แบบไม่มีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน ที่มีระยะเวลากู้ยืมตั้งแต่ 1 วัน ถึง 1 ปี จากธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ รวม 17 แห่ง (รวมธนาคารยูโอบี) อัตราดอกเบี้ย BIBOR จะถูกกำหนด ณ เวลา 11.00 น. ของแต่ละวันทำการ โดยธปท. จะทำการประกาศ ณ เวลา 11.15 น. |
สรุปรูปแบบวิธีการคำนวณและการกำหนด BIBOR
หัวข้อ | คำอธิบาย |
1. สมาชิกผู้ร่วมกำหนดอัตรา BIBOR | 17 ธนาคาร |
2. เวลากำหนด | 10.45 –11.00 น (กรุงเทพ) |
3. ระยะเวลา | ข้ามคืน, 1 สัปดาห์, 1, 2, 3, 6, 9 และ 12 เดือน |
4. เวลาประกาศ | 11.15 น. ของแต่ละวันทำการ |
5. วันทำการ | 2 วันนับจากวันที่กำหนดอัตราดอกเบี้ย BIBOR สำหรับทุกระยะเวลา ยกเว้น ประเภทข้ามคืน |
6. การนับวัน | จำนวนวันจริง / 365 |
7. วิธีการคำนวณ | ใช้วิธีการตัดข้อมูลสูงสุด 2 อันดับ และข้อมูลต่ำสุด 2 อันดับ ของอัตราดอกเบี้ย BIBOR ที่เสนอโดย Contributors ทั้งหมดแล้วนำข้อมูลที่เหลือมาเฉลี่ย |
8. ผลการคำนวณ | อัตราดอกเบี้ย BIBOR ใช้ทศนิยม 5 ตำแหน่ง โดยปัดขึ้นสำหรับทศนิยมตำแหน่งที่ 6 ขึ้นไป |
COMPARISON POLICY RATE - BIBOR - THBFIX

บทความพิเศษ เรื่อง ความโปร่งใสของอัตราดอกเบี้ย BIBOR
จากข่าวอื้อฉาวในตลาดการเงินโลกในเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LIBOR ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขาดความน่าเชื่อถือในช่วงวิกฤตการเงินโลกที่ผ่านมา จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและสมาคมธนาคารของแต่ละประเทศได้มีการทบทวนการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงนั้นๆ เพื่อมิให้ กลุ่มธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงได้ใช้ประโยชน์เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงหรือปิดบังต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งมีผลให้นักลงทุนหรือผู้ปล่อยกู้ ได้ผลตอบแทนที่ต่ำ รวมทั้งไม่สามารถเป็นเครื่องมือในการวัดความเสี่ยงด้านเครดิตที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้ร่วมตลาด และยังเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฐานะการเงินของธนาคารนั้นๆจากวิกฤติการทางการเงิน ดังกล่าว ได้มีการพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นของตลาดการเงินไทยที่ผ่านมาว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยตลาดการเงินของไทยในขณะนี้ได้มีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 2 อัตราหลักที่ใช้กันอยู่คือ
- อัตราดอกเบี้ย THBFIX เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นที่ได้จาก การแปลงค่าของค่าป้องกันความเสี่ยงของเงินสกุลดอลล่าร์เทียบกับสกุลเงินบาท กับอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลดอลล่าร์ จากวิกฤติการทางการเงินโลกที่ผ่านมา ยามที่ตลาดขาดสภาพคล่องของเงินสกุลดอลล่าร์ขึ้นมา ย่อมส่งผลกระทบถึงอัตราดอกเบี้ย THBFIX ที่ไม่ได้เป็นการสะท้อนถึงสภาพคล่องสกุลเงินบาทที่แท้จริง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินบาท ที่ควรจะเป็นจริง ณ ขณะนั้นๆ
- อัตราดอกเบี้ย BIBOR ป็นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่กำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่เป็น BIBOR contributor 17 ธนาคาร ได้ส่งผ่านข้อมูลไปที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทำการคำนวณค่ากลางของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงดังกล่าว โดยมีการดูแลอย่างใกล้ชิด หากมีอัตราดอกเบี้ยที่ผิดปกติของธนาคารใดธนาคารหนึ่งที่ส่งผ่านมาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ทาง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรีบดำเนินการติดต่อเพื่อขอคำอธิบายและเหตุผลจากธนาคารนั้นๆ รวมทั้งสอดส่องดูแลถึงธุรกรรมที่อิงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้มีธุรกรรมอย่างกว้างขวางและมีปริมาณที่ใช้อ้างอิงอย่างมีนัยสำคัญ
จาก The Nation ฉบับวันที่ 4 กันยายน 2555
ในบทความเรื่อง HAS BIBOR BEEN SUBJECT TO SAME MANIPULATION AS LIBOR?
โดย คุณกริช เฉลิมดำริชัย
ผู้วิเคราะห์อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย